Category Archives: เรื่องทั่วไป

ป้ายสินค้า ป้ายโฆษณา ประเทศลาว

ป้ายสินค้า ป้ายโฆษณา ประเทศลาว

[nggallery id=10]

ระบบโทรศัพท์ลาว มือถือลาว

มือถือลาว ระบบโทรศัพท์ลาว

มือถือลาว

มือถือลาว

ถ้าท่านต้องการโทรกลับประเทศไทย หรือโทรไปที่ไหน
ทางเลือกหนึ่งนอกจากระบบโรมมิ่งของมือถือไทยไม่ว่าของ ais dtac
มีค่าใช้จ่ายแพง คิดนาทีละ 32-42 บาทต่อนาที sms นาทีละ 15 บาท

การซื้อ เบอร์โทรของลาว เอามาใช้ ประหยัดและสะดวกที่สุด
ระบบมือถือในประเทศลาว มีหลายเจ้าแต่ที่ได้ลองใช้มา ระบบ M-Phone

การซื้อ sim card ระบบมือถือ

ตามร้านค้าทุกร้านที่มีป้าย จะมี ทั้ง simcard และบัตรเติมเงินจำหน่าย
sim card มี สองแบบ คือแบบ มีเงิน กับไม่มีเงิน
แบบมีเงิน ขายราคา 25000 กีบ ประมาณ 200 บาท จะมีเงินค่าโทร  10000  กีบ
แบบไม่มีเงิน ขายราคา 15000 กีบ ต้องเติมเงินเพิ่ม

บัตรเติมเงิน มีมูลค่า ตั้งแต่ 5000 10000 25000 50000 กีบ

ค่าโทรกลับไทย คิดนาทีละ 2000 กีบ หรือนาทีละ 8 บาท
การโทรกลับไทย กด 0066+หมายเลขของไทย แต่ตัดหมายเลข 0 หน้าหมายเลขเราออกไป
เช่น เบอร์ที่ไทยคือ 029512179  โทรกลับไทย กด 006629512179 เป็นต้น

แต่ท่านสามารถประหยัดกว่านั้น คือการโทรจากประเทศไทยมาหาเบอร์ มืถือในลาวจะเสียนาทีละ

5 บาท เมื่อโทรผ่านระบบ 009

เรียนรู้ คำนำหน้าชื่อ ของคนลาว(สปป.ลาว)

มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำนำหน้าชื่อ ของคนลาว(สปป.ลาว)

หลายท่านอาจจะสงสัยว่า ลาวใช้คำนำหน้าชื่อเหมือนกับไทยหรือไม่

ถ้าเป็นผู้ชาย

เด็กชาย / ผู้ชาย โดยทั่วไปจะใช้คำว่า ท่าน, ท้าว

ท้าว ใช้ในบัตรประจำตัว หรือ ใช้เรียกคนที่อ่อนกว่า

ท่าน ใช้เรียกให้เกียรติกัน หรือ สำหรับผู้มีตำแหน่ง หรือ ข้าราชการ

สมัยก่อน ใช้คำว่า ท้าว ,ท่าน, อาดญา, ญา

ญา ใช้กับข้าราชการ

อาดญา ใช้กับ ชั้นพระยา หรือ ขุน ( หากเขียนคำไทยต้องขออภัยด้วยเจ้าค่ะ)

ถ้าเป็นผู้หญิง


เด็กหญิง / ผู้หญิง โดยทั่วไปใช้คำว่า นาง , ท่านนาง

นาง ใช้ทั่วไป รวมทั้งผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว

ท่านนาง ใช้กับผู้มีตำแน่ง และ ข้าราชการ

สมัยก่อนใช้คำว่า นาง, ญานาง, ญาแม่

ญานาง ใช้กับ ลูกพระยา ข้าราชการหญิง

ญาแม่ ใช้กับ ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว 

ไปเยี่ยมเมืองลาว ลองหัดใช้ดูนะคะ

ประวัติหลวงพ่อพระลับ

 ประวัติหลวงพ่อพระลับ 

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 (พศ. 2077 – พ.ศ. 2114) เป็นกษัตริย์ครองเมืองหลวงพระบาง เมื่อพม่ายกทัพมาตีเมืองหลวงพระบาง พ.ศ. 2090 พระองค์อพยพไปตั้งเมืองหลวงใหม่ ชื่อ “เวียงจันทน์บุรีศรีสัตนาค” การอพยพครั้งนี้ได้นำพระแก้วมรกต พระบาง พระพุทธรูปองค์อื่นๆไปด้วย ซึ่งพระพุทธรูปทั้งหมดสร้างในสมัยเชียงแสน เชียงใหม่ และสมัยพระเจ้าโพธิสารมหาธรรมิกราชาธิราช (พ.ศ. 2063 – พ.ศ. 2090) จากการศึกษาพระพุทธลักษณะจึงสันนิษฐานว่า “หลวงพ่อพระลับ” สร้างขึ้นโดย “พระเจ้าโพธิสาร พระมหาธรรมิกราชาธิราช” ประมาณ ปี พ.ศ. 2068 ณ นครหลวงพระบาง เมื่อ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 1 สวรรคต พ.ศ. 2114 พระเจ้าศรีวรมงคล ผู้น้องขึ้นครองราชสืบมา พระนามว่า “พระยาธรรมิกราช” (พ.ศ. 2134 – พ.ศ. 2165) มีโอรส 1 คน ชื่อ “เจ้าศรีวิชัย”
 
เมื่อพระยาธรรมิกราชสิ้นพระชนม์กลุ่มของ พระยาแสนสุรินทร์ขว้างฟ้า ยึดเมืองเวียงจันทน์ได้ เจ้าศรีวิชัยจึงหลบหนีพร้อมนำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไม่ทราบจำนวน ซึ่งมี “หลวงพ่อพระลับ” รวมอยู่ด้วย ไปอาศัยอยู่กับท่านพระครูหลวง(เจ้าอาวาสวัดโพนสะเม็ด) เจ้าศรีวิชัยมีโอรสอยู่ 2 คน คือ “เจ้าแก้วมงคล หรือ อาจารย์แก้ว หรือ แก้วบูธม” และ “เจ้าจันทร์สุริยวงศ์”
  
พ.ศ. 2233 ท่านราชครูหลวงได้อพยพชาวเวียงจันทน์บางส่วนประมาณ 3,000 คน ไปบูรณปฏิสังขรณ์ “พระธาตุพนม” แล้วพาครอบครัวเวียงจันทน์ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ดอนโขง เนื่องจากท่านราชครูได้รับความเคารพจากประชาชนมาก สองพี่น้องชื่อ นางเพา นางแพง ซึ่งปกครองดูแลเมืองจำปาศักดิ์ จึงได้อาราธนาท่านให้ไปอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ เพื่อปกครองบ้านเมืองให้ได้รับความสุข เมื่อท่านไปปกครองได้ขยายอาณาเขตนครจำปาศักดิ์ให้กว้างขวางออกไป และสร้างเมืองใหม่ ไม่ขึ้นต่อเมืองเวียงจันทน์ และหลวงพระบางได้อัญเชิญ “เจ้าหน่อกษัตริย์” หรือ “เจ้าหน่อคำ” มาเสวยราชสมบัติ เป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาศักดิ์ใหม่ ทรงพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” (พ.ศ. 2256 – พ.ศ. 2280) และได้ให้ “อาจารย์แก้ว หรือ เจ้าแก้วมงคล หรือ เจ้าแก้วบูธม” อพยพครอบครัวพร้อมประชาชนพลเมือง นำเอาพระพุทธรูปเก่าแก่ศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาจากเวียงจันทน์ ไปสร้างเมืองทง หรือ “เมืองสุวรรณภูมิ” (ปัจจุบันคือ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด) เจ้าแก้วมงคล ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนแรก (พ.ศ. 2256 – พ.ศ. 2268) จากนั้นก็มีเจ้าเมืองสืบต่อมาจนถึง พ.ศ. 2326 “ท้าวภู” ได้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระรัตนวงษา” ได้แต่งตั้งให้ลูกชาย “ท้าวศักดิ์” ไปดำรงตำแหน่ง “เมืองแพน” มียศเป็น “เพีย” เทียบเท่าพระยาฝ่ายทหาร ให้ไปตั้งรักษาการณ์อยู่ริมแม่น้ำชี สถานที่นั้น เรียกว่า “ชีโหล่น” ต่อมาถึง พ.ศ. 2332 ก็ได้รับคำสั่งให้ไปตั้งแห่งใหม่ชายแดนด้านเหนือเขตเมืองสุวรรณภูมิกับเขตเมืองร้อยเอ็ดในขณะนั้น “ท้าวศักดิ์” ซึ่งมีตำแหน่ง “เพียงเมืองแพน” ก็อพยพประชาชนพลเมือง ประมาณ 330 ครอบครัว พร้อนำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลายองค์ไปไว้เคารพสักการะเป็นมิ่งขวัญเมืองด้วย เห็นว่าตรง “บึงมีต้นบอนเกิดขึ้นมาก เป็นทำเลดีอยู่ใกล้ลำน้ำชี สองฝั่งบึงเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึง จึงตั้งบ้านใหม่เรียกว่า “บ้านบึงบอน” และได้ก่อสร้างหลักเมืองฝั่งตะวันตกบึง (ปัจจุบันอยู่ที่ “คุ้มกลาง” เมืองเก่า) เมื่อสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยเรียบร้อยแล้ว จึงได้สร้างวัดขึ้น 4 วัด คือ “วัดเหนือ” ให้เจ้าเมืองและลูกไปทำบุญอุปัฎฐาก “วัดกลาง” ให้เสนาอำมาตย์พร้อมลูกหลานไปทำบุญอุปฎฐาก “วัดใต้” ให้ประชาชนพลเมืองทั่วไปทำบุญอุปัฎฐาก “วัดถ่าแขก” หรือ “ท่าแขก” อยู่ฝั่งบึงด้านทิศตะวันออก สำหรับพระภิกษุอาคันตุกะจากถิ่นอื่นๆ มาพักประกอบพุทธศาสนพิธี(ปัจจุบันเป็นศาลเจ้าบ้านโนนทัน) ในการสร้างวัดต่างๆ หรือ “หอ” , “โฮ่ง” ปูชนียสถานทางพุทธศาสนาของชาวลาวล้วนชำนาญการใช้วัสดุก่อสร้าง วัดที่สร้างด้วยไม้จึงไม่แข็งแรงมั่นคง จึงได้นำเอาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมดไปซ่อนไว้โดยถือเป็นความลับเพราะกลัวขโมย หรือพวกอันธพาลมาลัก มาทำลาย เมื่อสร้างวัดเหนือแล้วจึงสร้างธาตุมีอุโมงค์ภายในนำเอาพระพุทธรูปไปเก็บซ่อนไว้อย่างลับที่สุด รู้แต่เจ้าอาวาสวัดเหนือเท่านั้น คนทั้งหลายจึงเรียกว่า “พระลับ” หรือ “หลวงพ่อพระลับ” สืบมาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่ง พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระบรมราชโองการยกฐานะบ้านบึงบอนขึ้นเป็น “เมืองขอนแก่น” ตั้งให้ “ท้าวศักดิ์” ซึ่งเป็น “ท้าวเพียเมืองแพน” เขตเมืองสุวรรณภูมิเป็นเจ้าเมืองขอนแก่นคนแรกมีนามว่า “พระนครศรีบริรักษ์” ส่วนการปกปิดพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ไว้ในธาตุไม่มีใครเห็นจึงไม่ทราบว่ามีลักษณะอย่างไร เมื่อกล่าวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้ก็เรียกว่า “พระลับ” คนรุ่นต่อมาขยายบ้านเมืองมาตั้งบ้านขึ้นใหม่ด้านเหนือเม
ืองเก่าจึงเรียกว่า “บ้านพระลับ” ทางราชการย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอเรียกว่า “อำเภอพระลับ” อยู่ในท้องที่ “บ้านพระลับ” เป็น “ตำบลพระลับ” ย้ายศาลากลางมาตั้งที่บ้านพระลับเรียกว่า “จังหวัดขอนแก่น” ปัจจุบันพระลับกลายเป็นเทศบาลเมืองขอนแก่น เหลือเป็นอนุสรณ์ “ตำบลพระลับ” อยู่ทางตะวันออกเมืองขอนแก่น เมื่อได้เป็นจังหวัดขอนแก่นแล้ว วัดเหนือเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดธาตุ”(พระอารามหลวง)” ” วัด” คงชื่อเดิม “วัดใต้” ตั้งอยู่ริมหนองน้ำที่มีต้นแวงขึ้นมากจึงเรียกว่า “วัดหนองแวง”(พระอารามหลวง) กลางครั้นถึงสมัย “หลวงปู่พระเทพวิมลโมลี” (เหล่า สุมโน) เป็นเจ้าอาวาส และรองเจ้าคณะภาค 9 (มหานิกาย) รองอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น ท่านมีอายุได้ 86 ปี เกรงว่าต่อไปจะไม่มีใครรู้จัก “หลวงพ่อพระลับ” ท่านจึงได้เชิญ “นายกวี สุภธีระ” ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มาเป็นสักขีพยานเปิดเผยพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นพระพุทธรูปคู่เมืองขอนแก่น ให้สาธุชนรู้จักและทำพิธีเป็นทางการ เมื่อวันออกพรรษาปี 2537 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ( 18 ตุลาคม พ.ศ. 2537) นาม “หลวงพ่อพระลับ” จึงเป็นที่รู้จักและได้รับความเคารพสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา 
 
 คัดสรรมาฝากโดย tannypotter

เรียน ภาษา ลาว กันนะ ก ไก่ ข ไข่

โดยมหาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

http://www.ubru.ac.th/ccu/Lao_alphabet001.html

ประวัติย่อของท่าน บัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี แห่ง สปป. ลาว

ประวัติย่อของท่าน บัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี แห่ง สปป. ลาว

 

ท่านบัวสอน บุบผาวัน เกิดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.. 2497 ที่บ้านเตาปูน เมืองสาละวัน แขวงสาละวัน ชนเผ่าลาวลุ่ม ที่อยู่ปัจจุบันอยู่บ้านวัดนาก เมืองสีสัดตะนาก นครหลวงเวียงจันทน์

ขั้นตำแหน่ง และหน้าที่รับผิดชอบ

กรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค รองนายกรัฐมนตรีประจำการรัฐบาล

ระดับการศึกษาสามัญ : . 6, ระดับวิชาเฉพาะ ปริญญาตรีก่อสร้างพรรค

ระดับทฤษฎีการเมือง : ชั้นสูง

วันเดือนปีเข้าการปฏิวัติ 5 มีนาคม ค.. 1974

วันเดือนปีเข้าพรรคสมบูรณ์ 9 เมษายน ค.. 1980

การเคลื่อนไหวโดยย่อในแต่ละระยะ :

– 1961 – 1974 เรียนหนังสือประถม, มัธยม อยู่แขวงสาละวัน

– 1974 – 1975 ทำงานเคลื่อนไหวแนวหลัง และต่อมาได้ย้ายไปอยู่สำนักงานชาวหนุ่ม

แขวงจำปาสัก

– 1975 – 1980 ทำงานอยู่ห้องว่าการ แขวงจำปาสัก

– 1981 – 1986 ทำงานที่ห้องว่าการศูนย์กลางพรรค นครหลวงเวียงจันทน์

– 1986 – 1990 เรียนที่โรงเรียนพรรคชั้นสูง มอสโคว์

– 1990 – 1994 ทำงานอยู่ที่ห้องว่าการศูนย์กลางพรรค

– 1994 – 1996 เป็นรองนายกรัฐมนตรีประจำสำนักงานนายกรัฐมนตรี

– 1996 – 2000 เป็นกรรมการศูนย์กลางพรรคและเป็นหัวหน้าห้องว่าการศูนย์กลางพรรค

– 2001 – 2003 เป็นกรรมการกรมการเมือง ทั้งเป็นผู้ประจำการกรมการเมืองและหัวหน้า

ห้องว่าการศูนย์กลางพรรค

– 2003 – 2006 เป็นกรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค ทั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีผู้

ประจำการรัฐบาล

ที่ประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดที่ 6 ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.. 2006 ได้รับการเสนอของประธานประเทศแห่ง สปป ลาว ให้ ท่านบัวสอน บุบผาวัน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่แห่ง สปป ลาว

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว

ประวัติศาสตร์ลาวยุคต้น

 อาณาจักรล้านช้าง ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น
อ่านเพิ่มเติม

มาสคอต ซีเกมส์ลาว ครั้งที่ 25

มาสคอต ซีเกมส์ครั้งที่ 25 วันที่ 9-18 ธันวาคม 2552
มาสคอต ชื่อ เจ้าจำปี จำปา ของประเทศลาว
ดู มาสคอตทั้งหมดได้ที่
http://www.go-lao.com/gallery/thumbnails.php?album=6

อักษรลาว

ตัวหนังสือลาว แบบตัวหนังสือลาว

[nggallery id=9]

ภูมิศาสตร์ประเทศลาว

ภูมิศาสตร์ประเทศลาว

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ประเทศลาว ตั้งอยู่ในตอนกลางของอินโดจีนระหว่างระติจูต 14-23 องศา และระหว่างลองติจูต 100-108 องศา เป็นประเทศ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และล้อมรอบด้วยประเทศต่างๆต่อไปนี้
ทิศเหนือ ลาว ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน
ทิศใต้ ลาว ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันออก ลาว ติดกับ ประเทศสาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม
ทิศตะวันตก ลาว ติดกับ ประเทศราชอาณาจักรไทย
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ลาว ติดกับ ประเทศเมียนม่า
ความยาวของ ประเทศลาว แต่เหนือถึงใต้ประมาณ 1,700 กิโลเมตร

ภูมิประเทศ

สาธารณรัฐ ประชาธิปไตย ประชาชนลาว ( ประเทศลาว ) มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มากกว่าครึ่งหนึ่งของ ประเทศไทย ในรัชกาลของพระเจ้าฟ้างุ่มหาราชศตวรรษที่ 14 อาณาจักรล้านช้าง มีเนื้อที่ 480,000 ตารางกิโลเมตร ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขา และที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศลาว ภู “ เบี้ย “ เป็นภูที่สูงที่สุดใน ลาว ซึ่งมีระดับความสูง 2,820 เมตร จากระดับน้ำทะเล แม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศลาว จากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้เป็นความยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร และยังเป็นเขตแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศไทย